ระบบอาหารที่ยั่งยืนคือ

DSC_3872

ระบบอาหารที่ยั่งยืนคืออะไร?

ระบบอาหาร ครอบคลุมผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกคน ทุกช่วงเวลา และทุกกิจกรรมที่เชื่อมโยงกันในการสร้างมูลค่าเพิ่ม ให้กับการผลิต การรวบรวม การแปรรูป การกระจาย การบริโภค และการกำจัดผลิตภัณฑ์อาหารที่มาจากภาคการเกษตร ภาคป่าไม้ หรือภาคประมง และรวมถึงบางส่วนของเศรษฐกิจ สังคม และสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ ที่มีความเกี่ยวข้องกับระบบอาหาร

ระบบอาหารประกอบด้วยระบบย่อย (เช่น ระบบการเกษตร ระบบการจัดการของเสีย ระบบปัจจัยการผลิต ฯลฯ) และปฏิสัมพันธ์กับระบบสำคัญอื่น ๆ (เช่น ระบบพลังงาน ระบบการค้า ระบบสุขภาพ ฯลฯ) ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างในระบบอาหารอาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระบบอื่น เช่น นโยบายส่งเสริมการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพที่มากขึ้นในระบบพลังงานจะมีผลกระทบอย่างมากต่อระบบอาหาร

ระบบอาหารที่ยั่งยืน คือระบบอาหารที่ส่งต่อความมั่นคงด้านอาหารและสร้างภาวะโภชนาการแก่ทุกคนและคนรุ่นต่อ ๆ ไป  โดยคำนึงถึงมิติด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม นั่นหมายความว่า

  •  ต้องมีกำไรตลอด (ความยั่งยืนทางเศรษฐกิจ)
  •  ต้องมีประโยชน์ในวงกว้างสำหรับสังคม (ความยั่งยืนทางสังคม)
  •  ต้องมีผลกระทบเชิงบวกหรือเป็นกลางต่อสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ (ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม)

ระบบอาหารยั่งยืนเป็นหัวใจสำคัญของเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals หรือเรียกสั้น ๆ ว่า SDGs) ที่ถูกนำมาใช้ในปีพ.ศ. 2558 โดยเป้าหมายที่สำคัญของการพัฒนาอย่างยั่งยืนคือการเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในด้านการเกษตรและระบบอาหารเพื่อยุติความหิวโหย และบรรลุความมั่นคงด้านอาหารและปรับปรุงโภชนาการให้ได้ภายในปี พ.ศ. 2573

ดังนั้น ระบบอาหารทั่วโลกจำเป็นจะต้องมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นและคำนึงถึงกลุ่มคนที่ยากจนและด้อยโอกาส สิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน และการส่งมอบอาหารที่ดีต่อสุขภาพและมีคุณค่าทางโภชนาการสำหรับทุกคน นี่เป็นความท้าทายเชิงระบบที่มีความซับซ้อนที่ต้องการการทำงานที่เชื่อมโยงกันทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับชาติ ระดับภูมิภาค และระดับโลก

Previous
Next

ทำไมระบบอาหารจึงสำคัญ?

การเปลี่ยนแปลงระบบอาหารทางโครงสร้างอย่างรวดเร็วทำให้เกิดความท้าทายเพิ่มขึ้น และอาจจะเป็นไปได้ที่จะส่งผลกระทบเป็นวงกว้างต่อความมั่นคงทางอาหารและภาวะโภชนาการ รวมถึงอาหารที่ผ่านกระบวนการแปรรูป อาหารที่มีแคลอรี่สูงและมีคุณค่าทางโภชนาการต่ำกำลังกลายเป็นที่นิยมเพราะว่าสามารถหาซื้อได้ง่าย

ผู้ผลิตรายย่อยและวิสาหกิจเกษตรถูกจำกัดการเข้าถึงตลาดที่มีศักยภาพ วิกฤตการสูญเสียอาหารและขยะอาหารที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก อัตราที่เพิ่มขึ้นของกรณีความปลอดภัยทางอาหารและประเด็นเรื่องสุขภาพของคนและสัตว์ การเพิ่มขึ้นของรอยเท้าคาร์บอน (Carbon Footprint) ในภาคการผลิตอาหาร การใช้พลังงานและทรัพยากรสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวเนื่องกับการขยายตัวของอุตสาหกรรมในห่วงโซ่อุปทาน ดังนั้นการทำความเข้าใจระบบอาหารที่มีความหลากหลายให้ดีขึ้นจึงเป็นเรื่องสำคัญเพื่อให้แน่ใจว่า ระบบดังกล่าวพัฒนาไปในทิศทางที่ดี มีผลกระทบในเชิงลบน้อยที่สุด และเพิ่มการมีส่วนร่วมและขยายการสนับสนุนให้มากที่สุด

ข้อจำกัดของระบบอาหารในปัจจุบัน

วิธีการแก้ไขปัญหาระบบอาหารและภาวะโภชนานับว่าเป็นเรื่องที่ท้าทายเป็นอย่างมาก เนื่องจากการทำงานของแต่ละภาคส่วนยังคงทำงานแยกกันและไม่ทราบขอบเขตของการทำงาน การที่เราจะแก้ปัญหานี้ได้นั้นต้องมีการทำงานร่วมกันของผู้ที่มีส่วนได้เสียทั้งหมดในภาคการผลิตอาหาร ไม่ว่าจะเป็นในระดับท้องถิ่น ระดับชาติ ระดับภูมิภาค และระดับโลก นอกจากนี้เรายังต้องคำนึงถึงมิติอื่น ๆ ที่นอกเหนือไปจากภาคเกษตรกรรม เช่น ด้านการค้า ด้านนโยบายสุขภาพ ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านการศึกษา ด้านความเท่าเทียมของเพศ การขนส่งและโครงสร้างพื้นฐานและอื่น ๆ ฯลฯ

แผนการสร้างความมั่นคงทางอาหารแบบเดิมจะมุ่งเน้นไปที่การผลิตโดยส่วนใหญ่โดยไม่คำนึงมิติอื่น ๆ  ซึ่งจะมีผลโดยตรงต่อความมั่งคงทางอาหาร ในโลกนี้มีบางพื้นที่ โดยเฉพาะประเทศในแอฟริกาทางตอนใต้ของทะเลทรายซาฮาร่า (Sub-Sahara African) ที่การผลิตอาหารไม่เพียงพอได้ส่งผลความมั่นคงทางอาหารและภาวะโภชนาการ อย่างไรก็ตามระบบอาหารที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากในทศวรรษที่ผ่านมานำมาซึ่งที่ความซับซ้อนที่กระทบต่อความมั่นคงทางอาหารและภาวะโภชนาการ การมุ่งเน้นไปที่การผลิตอย่างเดียวได้นำไปสู่การละเลยในการคำนึงถึงมิติอื่น ๆ  และกลายเป็นสาเหตุเริ่มต้นของระบบอาหารที่มีประสิทธิภาพต่ำและเป็นจุดสำคัญที่นำไปสู่ผลกระทบที่ใหญ่ที่สุด มากไปกว่านั้นการทำงานร่วมกันในระบบอาหารที่มีการแทรกแซงโดยตรงในพื้นที่หนึ่งเสี่ยงต่อการสร้างหรือทำให้ปัญหารุนแรงขึ้นในอีกพื้นที่หนึ่ง

เมื่อไม่นานมานี้ มีแนวทางใหม่ ๆ ในการสร้างความมั่นคงทางอาหารที่ใช้แนวคิดเชิงระบบได้เกิดขึ้นและได้รับความสนใจ เช่น การพัฒนาแนวทางห่วงโซ่คุณค่าในการตลาด (The Value Chain) โดยใช้ความคิดเชิงระบบในการทดสอบวิธีที่คุณค่าถูกสร้างขึ้น ไม่ใช่เฉพาะแค่ผู้ผลิต แต่ยังรวมถึงผู้มีส่วนได้เสียคนอื่นเช่น คนงาน รัฐบาล และผู้บริโภค ที่สำคัญการพัฒนาแนวทางห่วงโซ่คุณค่าในการตลาดนี้เน้นไปที่การวิเคราะห์ทางระบบและการแทรกแซงเชิงบูรณาการเพื่อปรับปรุงการดำเนินงานของห่วงโซ่ อย่างไรก็ตามวิธีนี้เน้นไปที่สินค้าโภคภัณฑ์เฉพาะเพียงอย่างเดียวจึงทำให้มีแนวโน้มที่จะมองข้ามการพึ่งพากันของห่วงโซ่อื่น ๆ  เกษตรกรโดยเฉพาะที่เป็นรายย่อยมักผสมผสานการปลูกพืชที่หลากหลายกับการทำปศุสัตว์ การทำประมงและ/หรือกิจกรรมด้านป่าไม้ ภาวะทางโภชนาการของผู้บริโภคจึงขึ้นอยู่กับอาหารซึ่งมาจากสินค้าโภคภัณฑ์หลายชนิด ดังนั้นการที่จะประสบความสำเร็จในการทำให้เกิดผลกระทบวงกว้างจำเป็นต้องมีการมองปฏิสัมพันธ์ห่วงโซ่คุณค่าอาหารทั้งหมดในระบบอาหาร

อีกแนวทางที่ได้กำลังได้รับความนิยมมากขึ้นคือ ระบบตลาด โดยการคำนึงว่าตลาดเป็นระบบที่ปรับตัวได้เพื่อที่จะนำข้อจำกัดด้านระบบไปสู่การเชื่อมต่อทางตลาดซึ่งสามารถกระทบห่วงโซ่คุณค่าได้หลายอย่าง (เช่น พัฒนาการเชื่อมต่อระหว่างชาวนากับบริการทางการเงินให้แข็งแรงมากขึ้น) ในขณะที่แนวทางระบบตลาดสามารถเอาชนะข้อจำกัดของแนวทางห่วงโซ่คุณค่าในการตลาด (ที่ทำได้กับห่วงโซ่เดียวในช่วงเวลานั้น ๆ ) ได้ แนวทางระบบตลาดนี้มีแนวโน้มที่จะจำกัดอยู่ที่ตลาดเดียวซึ่งก็เหมือนกับแนวทางห่วงโซ่คุณค่าในการตลาด

การคิดแบบองค์รวม

แนวทางระบบอาหารเป็นวิธีที่คิดและทำโดยพิจารณาของระบบในทุก ๆ ด้าน และคำนึงถึงองค์ประกอบ ความสัมพันธ์และผลกระทบที่เกี่ยวเนื่องกันทั้งหมด ไม่จำกัดอยู่เพียงที่ส่วนหรือระบบย่อย (เช่น ห่วงโซ่คุณค่า ระบบตลาด) หรือข้อบังคับใดข้อบังคับหนึ่ง ดังนั้นวิธีการคิดจึงควรขยายการวางแผนและการวิเคราะห์ประเด็นเฉพาะซึ่งเป็นผลมาจากโครงข่ายที่ซับซ้อนของกิจกรรมและการตอบกลับที่เชื่อมกัน การคิดแบบองค์รวมจะต้องพิจารณาตัวแปรสาเหตุของปัญหาและผลกระทบของวิธีแก้ปัญหาที่มีต่อสังคม สิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจ เพื่อให้การเปลี่ยนแปลงด้านระบบประสบความสำเร็จ

แนวทางระบบอาหารเช่นนั้นจะจัดการกับข้อจำกัดของแนวทางที่ปฏิบัติกันมาเพื่อการปรับปรุงความมั่นคงทางอาหารและภาวะโภชนาการ ซึ่งมีแนวโน้มที่จะทำให้การแก้ปัญหาเป็นส่วน ๆ หรือจำกัดให้เป็นงานของหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง หรือใช้ความคิดเชิงระบบเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์แต่ก็ถูกจำกัดอยู่กับระบบย่อย การกระตุ้นนักพัฒนาและผู้กำหนดนโยบายให้มองเห็นภาพใหญ่จะช่วยให้เกิดความร่วมมือของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการกำหนดนโยบายในหลายระดับ เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์และการเรียนรู้ความท้าทายที่จะเกิดขึ้นในอนาคตร่วมกัน แน่นอนว่าจะมี การแลกเปลี่ยนในหลาย ๆ ประเด็นเกิดขึ้น (เช่น มิติอื่น ๆ ของระบบอาหาร ไม่ว่าจะเป็น การลดความยากจน ผลผลิต ทางการเกษตรที่เพิ่มขึ้น โภชนาการที่ได้รับการปรับปรุง และความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมที่มากขึ้น) ซึ่งนี่คือโอกาสในการที่จะบรรลุวัตถุประสงค์ในหลาย ๆ ด้าน การแก้ไขด้วยด้วยแนวทางระบบอาหารสามารถช่วยระบุถึงการประสานงานของหน่วยงานต่าง ๆ  และช่วยเรื่องความร่วมมือเพื่อให้ประสบความสำเร็จ

โครงสร้างระบบอาหาร: การพัฒนาระบบอาหารที่ยั่งยืนคืออะไร?

เพื่อให้การพัฒนาระบบอาหารที่ยั่งยืนประสบความสำเร็จ ความยั่งยืนจะถูกตรวจสอบอย่างครอบคลุมทุกมิติ คือด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม และด้านสิ่งแวดล้อม

ในมิติทางเศรษฐกิจ ระบบอาหารจะมีความยั่งยืนถ้ากิจกรรมที่ดำเนินการโดยผู้เกี่ยวข้องในระบบอาหารแต่ละราย หรือผู้ให้บริการสนับสนุนสามารถทำงานในเชิงพาณิชย์ได้ กิจกรรมที่เกิดขึ้นควรสร้างประโยชน์หรือเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจแก่ผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม (ค่าแรงสำหรับคนงาน ภาษีสำหรับรัฐบาล ผลกำไรสำหรับองค์กร และการปรับปรุง แหล่งอาหารสำหรับผู้บริโภค)

ในมิติทางสังคม ระบบอาหารจะมีความยั่งยืนเมื่อมีความเท่าเทียมในการกระจายมูลค่าทางเศรษฐกิจโดยคำนึงถึง กลุ่มที่มีความเสี่ยงโดยจำแนกตามเพศ อายุ เชื้อชาติ และอื่น ๆ หลักการพื้นฐานคือกิจกรรมทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับระบบอาหารจำเป็นจะต้องมีส่วนร่วมเพื่อความก้าวหน้าของผลลัพธ์ทางสังคม – วัฒนธรรมที่สำคัญ เช่น โภชนาการและสุขภาพ ประเพณี สภาพแรงงาน และสวัสดิภาพสัตว์

ในส่วนของมิติด้านสิ่งแวดล้อม ความยั่งยืนจะถูกพิจารณาโดยการทำให้แน่ใจว่าผลกระทบของกิจกรรมที่เกิดขึ้นในระบบอาหารที่มีต่อสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติจะต้องเป็นกลางหรือไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม โดยนำความหลากหลายทางชีวภาพ น้ำ ดิน สัตว์และพืช รอยเท้าคาร์บอน การสูญเสียอาหาร การลดขยะอาหาร และความเป็นพิษมาพิจารณา

ตามภาพประกอบมาตรการใด ๆ ที่เสนอ เพื่อแสดงให้เห็นปัญหา (เช่น โรคในสัตว์) หรือ การใช้ประโยชน์จากโอกาสใหม่ ๆ (เช่น เทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่เน้นเรื่องความยั่งยืน หรือ ตลาดที่ทำกำไร) จะต้องได้รับการประเมินในทุกมิติของความยั่งยืน เพื่อให้แน่ใจว่าจะไม่มีผลกระทบที่ไม่พึงปรารถนาตามมา มาตรการเหล่านี้จะกระทบกับการใช้ทรัพยากรทางธรรมชาติได้อย่างไร? หรือมาตรการเหล่านี้กระทบกับเกษตรกรที่ยากจนและร่ำรวยแตกต่างกันหรือไม่? หรือเพิ่มความแบ่งแยกระหว่างสองกลุ่มนี้หรือไม่? หรือมาตรการเหล่านี้จะมีผลกระทบด้านลบต่อสุขภาพของผู้บริโภค วิสัยทัศน์แบบองค์รวมนี้ทำให้เรามองเห็นโอกาสที่จะร่วมมือกันและมองเห็นการได้/เสียประโยชน์ที่ถูกซ่อนอยู่ นอกจากนี้วิสัยทัศน์แบบองค์รวมทำให้แน่ใจได้ว่า ในขณะที่ผลกระทบที่ตั้งเป้าไว้เป็นเชิงบวก ผลกระทบโดยรวมทั้งหมดที่มีต่อมูลค่าเพิ่มของกิจกรรมระบบอาหารจะเป็นเชิงบวกด้วยเช่นเดียวกัน ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นโดยทันทีเป็นความสิ่งที่ต้องการสำหรับเครื่องมือวัดผลกระทบใหม่ ๆ หรือเครื่องมือวัดผลกระทบที่ถูกปรับปรุง

ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงและต้นแบบการพัฒนา

ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงและต้นแบบการพัฒนาอาหารแบบยั่งยืนดังที่นำมาแสดงได้รับมาจากต้นแบบของโมเดล โครงสร้างตลาด พฤติกรรมของหน่วยผลิต ผลการดำเนินงาน หรือ Structure-Conduct-Performance (S-C-P)

ในปัจจุบันโครงสร้างของระบบอาหารประกอบไปด้วยการขับเคลื่อนและปัจจัยที่ซับซ้อนและหลากหลาย เช่น ความเป็นเมือง การเติบโตของประชากร การเปลี่ยนแปลงสภาพทางภูมิอากาศ การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและนวัตกรรม การเปลี่ยนแปลงด้านนโยบาย และอื่น ๆ โครงสร้างนี้ได้สร้างผลประโยชน์ต่อผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง และมีอิทธิพลต่อสมรรถนะ ซึ่งในที่สุดก็จะมีผลต่อพฤติกรรม ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในระบบอาหารต่างพึ่งพาอาศัยกันและสามารถสร้างกระทบต่อผลประโยชน์และสมรรถภาพของกันและกัน ประสิทธิภาพโดยรวมของระบบอาหารซึ่งวัดในแง่ความยั่งยืนเป็นผลมาจากการร่วมมือกันของผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดในระบบ ยกตัวอย่าง เช่น บริษัท ฟาร์ม และผู้บริโภค ต่างมีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพหรือสร้างการเปลี่ยนแปลงของระบบอาหาร ในทางกลับกันประสิทธิภาพดังกล่าวอาจได้การตอบรับในเชิงบวกและ/หรือลบ  ที่จะส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและระดับเชิงโครงสร้างของระบบ (การเปลี่ยนแปลงเชิงพฤติกรรมภายในระบบอาหารที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ๆ)

สำหรับองค์กรเพื่อการพัฒนา เช่น FAO เป้าหมายมี 2 ประการ ประการแรกเพื่อเข้าใจว่า โครงสร้างดังกล่าวสามารถสร้างแรงจูงใจและมีอิทธิพลต่อการประสิทธิภาพของผู้เกี่ยวข้อง และปรับทิศทางด้านพฤติกรรมที่จะนำไปสู่ผลการดำเนินงานของระบบได้อย่างไร ประการที่สอง เพื่อสนับสุนการเกิดขึ้นของวงจรสะท้อนกลับเชิงบวก (จากผลการดำเนินงานไปยังพฤติกรรม หรือ จากพฤติกรรมไปยังโครงสร้าง) ที่จะทำให้เกิดกระบวนการพึ่งพาตนเองในหลักการบริหารอย่างยั่งยืน

ต้นแบบการพัฒนา ระบบอาหารที่ยั่งยืน (SFS) เป็นกลไกขับเคลื่อนการเติบโต จะสร้างมูลค่าเพิ่มที่มี 5 องค์ประกอบคือ

  1. เงินเดือนคนงาน
  2. การคืนกำไรสู่ผู้ประกอบการและเจ้าของทรัพย์สิน
  3. รายได้ทางภาษีแก่รัฐบาล
  4. ประโยชน์ต่อผู้บริโภค
  5. ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทางสังคม-วัฒนธรรมและธรรมชาติ

การเพิ่มมูลค่าจะดำเนินการโดยการขับเคลื่อนของ 4 วงจรนี้ซึ่งเกี่ยวเนื่องกับความยั่งยืนทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม และมีผลกระทบโดยตรงต่อความยากจน ความหิวโหย และโภชนาการ วงจร 4 อันดังกล่าวคือ

(1) วงจรการลงทุน ที่ขับเคลื่อนโดยกำไรที่นำกลับมาลงทุนและการออมทรัพย์

(2) วงจรตัวคูณที่ขับเคลื่อนโดย การใช้จ่ายของรายได้คนงานที่เพิ่มขึ้น

(3) วงจรความก้าวหน้า ขับเคลื่อนโดยงบประมาณสาธารณะสำหรับ สิ่งแวดล้อมทางสังคมวัฒนธรรมและธรรมชาติ

(4) วงจรผลกระทบภายนอก ขับเคลื่อนโดยผลกระทบด้าน เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมภายในระบบอาหารและระบบอื่น ๆ ที่กว้างขึ้น

วงจรตอบรับแต่ละวงสามารถเป็นได้ทั้งด้านบวกและด้านลบ วงจรตอบรับยิ่งเป็นด้านบวกมากเท่าใด ระบบอาหารก็จะยั่งยืนมากขึ้นเท่านั้น (ในทางกลับกัน ระบบอาหารยั่งยืนมากขึ้นเท่าใด วงแหวนตอบรับก็ยิ่งเป็นด้านบวกมากเท่านั้น)

การเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นของระบบอาหารที่ได้รับการส่งเสริมโดยผ่านทางการสนับสนุนที่มีตัวเร่ง วงแหวนการตอบรับด้านบวกสำหรับทั้งการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและการสร้างคุณค่า จะช่วยให้ประเทศต่าง ๆ บรรลุ วัตถุประสงค์ SDGs ที่จะสร้างเม็ดเงินซึ่งช่วยลดความยากจน ในขณะเดียวกันก็มีการใช้ทรัพยากรทางธรรมชาติอย่างมีความรับผิดชอบและปกป้องสิ่งแวดล้อม สิ่งที่กล่าวมาข้างต้นกอปรกับอุปทานอาหารที่ได้รับการปรับปรุงจะทำให้เกิดความมั่นคงทางอาหาร เมื่อผนวกกับสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติและสภาพสังคมและวัฒนธรรมที่เหมาะสมก็จะทำให้มีผลิตภัณฑ์อาหารที่มีโภชนาการมากขึ้น สามารถเข้าถึงได้มากขึ้น และเป็นที่ต้องการมากขึ้น สิ่งเหล่านี้จะทำให้เกิดความมั่นคงทางอาหารในที่สุด

งานของ FAO ที่เกี่ยวข้องและทำได้

การวิเคราะห์ระบบอาหารแบบองค์รวมและการนำแนวทางระบบอาหารมาใช้จะมีผลในทางปฏิบัติสำหรับกลยุทธ์และแผนการพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สามวิธีที่แนวทางระบบอาหารสามารถสนับสนุนงานของ FAO ได้คือ

การวัดการดำเนินการ

แนวทางปฏิบัติของระบบเพื่อวัดการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับการประเมินการดำเนินการของระบบอาหารไปพร้อม ๆ กับความยั่งยืนในทุกมิติ (เศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม) วิสัยทัศน์แบบองค์รวมทำให้เราระบุถึงการร่วมมือกันที่เป็นไปได้และเปิดเผยการแลกเปลี่ยนระหว่างทั้งสามมิติ เพื่อให้แน่ใจว่าในขณะที่ผลกระทบที่ตั้งเป้าไว้เป็นบวก ผลกระทบทั้งหมดในระบบก็เป็นด้านบวกด้วย มองในทางปฏิบัติหมายถึงการรวมผู้เชี่ยวชาญจากพื้นที่ที่เกี่ยวข้องและจากองค์กรต่าง ๆ เพื่อสร้างตัวบ่งชี้ที่แน่ชัดเพื่อติดตามผลกระทบในแต่ละมิติของความยั่งยืน

การวิเคราะห์การดำเนินการ

แนวทางการปฏิบัติงานเพื่อความเข้าใจในการดำเนินงานคือ การระบุถึงสาเหตุพื้นฐานของการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพต่ำของระบบอาหารด้วยทัศนคติแบบองค์รวมบนพื้นฐานของการวิจัยหลายสาขาวิชา การระบุถึงสาเหตุพื้นฐานนี้ส่อให้เห็นถึงการตีความที่เป็นพลวัตรและกว้าง ๆ ของรูปแบบเฉพาะของ SCP รูปแบบเฉพาะนี้ ต้องการความเข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงโครงสร้างของระบบ โครงสร้างนี้มีอิทธิพลต่อการจัดการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างไร? และสิ่งเหล่านี้มีผลต่อการดำเนินงานโดยรวมซึ่งสามารถเปลี่ยนโครงสร้างและระบบอย่างค่อยเป็นค่อยไปอย่างไร? การวิเคราะห์มีขั้นตอนหลัก 3 ข้อคือ

      • วิเคราะห์ความเชื่อมโยงภายในระบบหลัก ความเชื่อมโยงระหว่างผู้มีส่วนเกี่ยวข้องใน 5 ขั้นตอนของการไหลของสินค้า (การผลิต การรวมตัว กรรมวิธี การกระจาย และการบริโภค) และผู้ให้บริการสนับสนุน รวมถึงการทำงานร่วมกันระหว่างระบบหลักและบริบททางด้านธรรมชาติและสังคมที่พวกเขาฝังตัวอยู่ สิ่งที่พวกเขาได้รับผลกระทบและมีผลกระทบต่อ
      • วิเคราะห์กลไกของการปกครองซึ่งเน้นความสัมพันธ์ของอำนาจในกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่หลากหลายของระบบอาหาร พิจารณาผลประโยชน์ที่พวกเขาได้มาจากกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับระบบอาหารและขับเคลื่อนด้านพฤติกรรม
      • ระบุและวิเคราะห์สาเหตุพื้นฐานของการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพต่ำ (พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์) พื้นที่ของความเป็นไปได้ที่มากที่สุดของการปรับปรุงผลการดำเนินงานของระบบ (ข้อจำกัดที่เกี่ยวพันกัน การหาจุดคานงัด) ซึ่งอาจอยู่ไกลจากปัญหาจริง

การปรับปรุงการดำเนินงาน

แนวทางการปฏิบัติงานเพื่อการปรับปรุงการดำเนินงานซึ่งตั้งอยู่บนการวิเคราะห์แบบองค์รวมข้างต้นและมุ่งเป้าเพื่อ

      • เปลี่ยนพฤติกรรมโดยพุ่งเป้าไปที่ปัจจัยทางโครงสร้างที่มีผลกระทบต่อสมรรถนะภาพและประโยชน์ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยรวมถึงการแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างทั้งหมดของระดับขององค์กร กำลังเทคโนโลยีและเศรษฐกิจเพื่อเสริมสร้างความสมดุลที่สัมพันธ์กัน
      • พัฒนาวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ร่วมกันในการปรับปรุงประสิทธิภาพ และทางออกแบบบูรณาการที่ได้รับการสนับสนุนโดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุก ๆ ฝ่าย และสามารถบรรลุผลลัพธ์ที่ดีขึ้นในวงกว้าง
      • แทนที่จะเข้าไปเกี่ยวข้องโดยตรง (เช่น โดยผ่านทางโครงการช่วยเหลือทางการเงินระยะสั้น) ก็เข้าไปช่วยอำนวยความสะดวกแก่วงจรการตอบรับด้านบวกในระบบที่สามารถทำให้เกิดขบวนการที่พึ่งพาตนเองของการปรับปรุงการดำเนินงาน
พื้นที่ 1

บรรลุข้อมูลให้เข้าถึงได้เพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนถ่ายสู่ระบบอาหารที่ยั่งยืน การสนับสนุนแนวทางการปฏิบัติงานระบบอาหาร

สิ่งที่ต้องดำเนินการเพื่อบรรลุระบบอาหาร

วิสัยทัศน์และการดำเนินงานเพื่อการเปลี่ยนแปลงระบบอาหารต้องใช้ข้อมูลที่เชื่อถือได้เท่านั้น กิจกรรมของ FAO ในเรื่องนี้ควรเน้นที่

  • การรวบรวมและการวิเคราะห์ข้อมูลที่เป็นระบบมากขึ้น ซึ่งครอบคลุมหลายพื้นที่ของระบบอาหารทั้งหมด
  • เรียบเรียงและเปรียบเทียบข้อมูลที่มาจากหลายๆ ส่วนให้ดีขึ้นเพื่อประเมินการดำเนินงานของระบบอาหาร และเพื่อบอกถึงการตัดสินใจได้
พื้นที่ 2

ส่งเสริมการตัดสินทางนโยบายที่อิงหลักฐานและการเป็นไปในทางเดียวกันของนโยบาย

สิ่งที่ต้องดำเนินการเพื่อบรรลุระบบอาหาร

การเปลี่ยนแปลงระบบอาหารต้องการสิ่งแวดล้อมที่เอื้ออำนวยผ่านทางพันธสัญญาของประเทศและการเป็นเจ้าของเรื่องนี้ต้องได้มีนโยบายที่แน่นอน กิจกรรมของ FAO ในเรื่องนี้ควรเน้นไปที่

  • การให้การสนับสนุนการวางและวิเคราะห์นโยบาย ที่มุ่งไปที่เหตุทางโครงสร้างของประสิทธิภาพต่ำของระบบอาหาร และทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งโดยมุ่งเป้าไปที่การสนับสนุนด้านเทคนิค องค์กร และเศรษฐกิจ เพื่อแสดงถึงช่องว่างระหว่างผู้มีส่วนร่วมในระบบอาหารเพื่อความสมดุลที่มากขึ้น
  • สนับสนุนความร่วมมือเชิงนโยบายที่เข้มแข็งทุกส่วน (เช่น กระทรวงเกษตร กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษา กระทรวงคมนาคมและโครงสร้างพื้นฐาน ฯลฯ)
  • เสริมสร้างประสิทธิภาพของหน่วยงานรัฐ เพื่อทำงานกับองค์กรธุรกิจและเอกชน
พื้นที่ 3

สนับสนุนภาครัฐและเอกชน ความร่วมมืออย่างยั่งยืน การพัฒนาระบบอาหาร

สิ่งที่ต้องดำเนินการเพื่อบรรลุระบบอาหาร

การเปลี่ยนแปลงระบบอาหารต้องเกี่ยวข้องกับความพยายามและปฏิสัมพันธ์ของคนที่หลากหลาย ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียแบบพึ่งพาซึ่งกันและกัน ความร่วมมือระหว่างกันมีความสำคัญ กิจกรรมของ FAO ในด้านนี้ควรมุ่งเน้นไปที่:

  • อำนวยความสะดวกในกระบวนการปรับตัวของการเปลี่ยนแปลงระบบที่ขับเคลื่อน
    โดยตลาดนำแนวทางที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติและผสมผสานกับนวัตกรรมเชิงนโยบายกระบวนการนี้จำเป็นต้องรวมและมีส่วนร่วมกับ บริษัท ฟาร์มผู้บริโภค รัฐบาลและองค์กรภาคประชาสังคมที่ให้ความสนใจเป็นพิเศษ และกลุ่มคนชายขอบ
  • ผ่านการริเริ่มของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลายฝ่ายรวบรวมผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากภาคส่วน และขอบเขตทางวินัยเพื่อสร้างความเข้าใจและการทำงานร่วมกัน ปัญหาการกำกับดูแลในระบบอาหาร
  • ทำงานร่วมกับองค์กรอื่น ๆ เพื่อเรียนรู้ปรับตัวและทำงานร่วมกันแนวทางที่แตกต่างกันในการทำงานเพื่อวัตถุประสงค์ของระบบอาหารทั่วไป
พื้นที่ 4

ช่วยการสร้างและแบ่งปันความรู้ในท้องถิ่น

สิ่งที่ต้องดำเนินการเพื่อบรรลุระบบอาหาร

การเปลี่ยนแปลงระบบอาหารจำเป็นต้องถูกสร้างขึ้น และอยู่ได้ด้วยการรวมกันของความรู้ในพื้นที่และโลก และการแบ่งปันความท้าทายและการปฏิบัติที่ดี กิจกรรมของ FAO ในพื้นที่นี้ควรเน้นไปที่

  • การตั้งระบบสำหรับการเกิดและเผยแพร่ข้อมูล สร้างแนวทางที่ชัดเจนและยั่งยืนเพื่อนำความรู้มาสู่พื้นที่ โดยเชื่อมผู้ปฏิบัติการหลักกับ “ผู้ให้ความรู้” ในท้องถิ่นและภูมิภาค (เช่น การขยายบริการ สถาบันวิจัย ห้องปฏิบัติการ เครือข่ายความรู้)
  • สร้างเครือข่ายนักคิดและผู้นำนานาชาติจากหลายส่วนและแบ็คกราวน์เพื่ออำนวยความสะดวกในการแลกเปลี่ยนความรู้และเสนอความเชี่ยวชาญด้านเทคนิคสู่ประเทศต่าง ๆ
พื้นที่ 5

สนับสนุนประเทศต่างๆ ในการป้องกัน และบรรเทาความเสี่ยง

สิ่งที่ต้องดำเนินการเพื่อบรรลุระบบอาหาร

การเปลี่ยนแปลงระบบอาหารจำเป็นต้องคำนึงถึงความกดดันระยะยาว เพื่อที่จะเพิ่มความยืดหยุ่นของระบบอาหารที่ซับซ้อนและเป็นพลวัตร ความเสี่ยง จำเป็นต้องมีความเข้าใจและมีการวิเคราะห์ที่ดีในเรื่องการคุกคามและความเปราะบางทั่วทั้งระบบ กิจกรรมของ FAO ในพื้นที่นี้ควรเน้นไปที่

  • มีการประเมินและเข้าใจความเสี่ยงที่เป็นระบบ (เศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม) ส่วนประกอบและการปฏิบัติงานร่วมกันทุกด้านที่ประสานงานกัน และพัฒนาทางแก้ปัญหาบูรณาการเพื่อป้องกันและบรรเทาความเสี่ยง

Share on facebook
Share on twitter

เรียนรู้ อิ่ม..ดี… ทั้ง 5


actionTrackicon01

อิ่ม..ดี… ถ้วนหน้า


actionTrackicon02

อิ่ม..ดี… มีสุข


actionTrackicon03

อิ่ม..ดี… รักษ์โลก


actionTrackicon04

อิ่ม..ดี… ทั่วถึง


actionTrackicon05

อิ่ม..ดี… ทุกเมื่อ

Scroll to Top