เวทีหารือสาธารณะอิ่ม…ดี… มีสุข:
“ผักจะเป็นวาระแห่งชาติได้อย่างไร?”
“Should Thailand have a National Vegetable Policy?”
13 พฤษภาคม 2564
Share on facebook
Share on twitter
Share on email
การบริโภคอาหารที่ดีต่อสุขภาพและมีโภชนาการที่ดี เป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงไปสู่ระบบอาหารที่ยั่งยืน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และ ศูนย์พืชผักโลก (World Vegetable Center: WorldVeg) จัดเวทีหารือสาธารณะนี้ เพื่อเป็นหนึ่งในกิจกรรมในการเฉลิมฉลองปีผักและผลไม้สากล 2021 ทั้งยังเพื่อให้เข้าใจว่า ระบบอาหารของประเทศไทยเป็นอย่างไร โดยเลือกสินค้าผักเป็นกรณีศึกษา เพื่อหารือร่วมกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องถึงนโยบายและแนวทางการดำเนินการที่สนับสนุนให้คนไทยได้บริโภคผักที่ดีต่อสุขภาพและมีโภชนาการที่ดี ซึ่งเป็นการทำงานร่วมกันและบูรณาการระหว่างการเกษตร อาหาร และสุขภาพของผู้คนและโลกใบนี้
ข้อมูลของศูนย์พืชผักโลก (World Vegetable Center: WVC) ระบุว่า องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) แนะนำให้คนที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป บริโภคผักและผลไม้อย่างน้อย 400 กรัมต่อวัน การบริโภคผักและผลไม้น้อยกว่ามาตรฐานเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลให้สุขภาพไม่ดี โดยพบว่ามี ผู้เสียชีวิตมากกว่า 1.5 ล้านราย เนื่องจากบริโภคผักในปริมาณที่ต่ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศที่มีรายได้ต่ำ และปานกลาง สำหรับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีปริมาณการบริโภคผัก (vegetable intake) เฉลี่ย 153 กรัมต่อคนต่อวัน (อยู่ในช่วงระหว่าง 91 – 400 กรัม ตามแต่ละประเทศ)
สถานการณ์การบริโภคผักของคนไทย พบว่า คนไทยบริโภคผัก (vegetable intake) เฉลี่ย 87 กรัมต่อคนต่อวัน ซึ่งต่ำกว่าระดับมาตรฐานที่ WHO แนะนํา โดยร้อยละ 15 ของกลุ่มวัยรุ่น (adolescents) คนไทย หรือ กลุ่มคนที่มีอายุ 10 – 19 ปี ตามคําจํากัดความของ WHO ไม่บริโภคผักทุกวัน นอกจากนี้ยังพบว่า ขณะที่ภาวะโภชนาการต่ำกว่าปกติหรือภาวะขาดสารอาหาร (undernutrition) ในประเทศไทยกําลังลดลง แต่โรคอ้วน (obesity) ที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพกลับมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ซึ่งปัจจัยที่มีผลให้คนบริโภคผัก ต่ำกว่าระดับมาตรฐาน เช่น ความชอบส่วนบุคคลในการบริโภคผัก ความยากง่ายในการหาซื้อ ความสามารถในการ จับจ่ายใช้สอย เป็นต้น ทั้งนี้ พื้นฐานของการบริโภคผัก คือ การมีผลผลิตผักที่เพียงพอต่อการบริโภคในระดับ ท้องถิ่นและในประเทศ ซึ่งพื้นฐานของการมีผลผลิตผักในประเทศนั้น ๆ มาจากการจัดทํานโยบาย ยุทธศาสตร์ และ กฎระเบียบ
1.
https://youtu.be/UI-KoXoyMXE
กล่าวเปิดโดย:
นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์
- ผู้ประสานงานของประเทศไทยสำหรับ UNFSS
- รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ดร.นพ. ไพโรจน์ เสาน่วม
- ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
- รักษาการผู้อำนวยการสำนักสร้างเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สสส.
ดร.เดลฟีน ลาลูส
-
ผู้อำนวยการศูนย์พืชผักโลก ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (World Vegetable Center (WorldVeg)
การบรรยายหัวข้อ ‘การประชุมสุดยอดผู้นำระบบอาหารโลก’ โดย
ดร.วนิดา กำเนิดเพ็ชร์
-
ผู้ช่วยผู้ประสานงานหลักของประเทศไทย
-
ผู้อำนวยการสำนักการเกษตรต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
การบรรยายหัวข้อ ‘Vegetable Food Systems for Healthy Diets’ โดย
ดร.โจดี้ ฮาร์ริส
- ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบอาหารโลก ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (World Vegetable Center (WorldVeg)
การบรรยายหัวข้อ ‘นโยบาย การดำเนินการ และการส่งเสริมด้านผัก’ โดย
นางสาวจิราภา จอมไธสง
-
ผู้เชี่ยวชาญด้านการส่งเสริม และจัดการการผลิตพืชผักไม้ดอกไม้ประดับ และพืชสมุนไพร กรมส่งเสริมการเกษตร
นายอำนวย อรรถลังรอง
-
นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ กรมวิชาการเกษตร
การบรรยายหัวข้อ ‘การส่งเสริมระบบอาหารเพื่อสุขภาวะ เพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน’ โดย
ดร.นพ. ไพโรจน์ เสาน่วม
- ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
- รักษาการผู้อำนวยการสำนักสร้างเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สสส.
การบรรยายหัวข้อ ‘ระบบอาหารที่ดีและยั่งยืนกับการส่งเสริมการบริโภคผักผลไม้ของคนไทย’ โดย
ผศ.ดร. สิรินทร์ยา พูลเกิด
-
สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
การหารือกลุ่มย่อย โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม
2.
กลุ่มย่อย 1 ภาษาอังกฤษ
https://youtu.be/3LPU3c9VUIc
ดำเนินการโดย
ดร.โจดี้ ฮาร์ริส
- หัวหน้าผู้เชี่ยวชาญด้านระบบอาหารโลก ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (World Vegetable Center (WorldVeg)
3.
กลุ่มย่อย 2 ภาษาไทย
https://youtu.be/fIHRZ97LJvI
ดำเนินการโดย
นางสาวจิราภา จอมไธสง
- กรมส่งเสริมการเกษตร
นางสาวปิยาพร อรุณพงษ์
- กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
4.
ทั้ง 2 กลุ่มนำเสนอการหารือ
https://youtu.be/JWq1U33Z9AY
ภาพกิจกรรม